Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

   
 

              ในธรรมชาติสีที่ถูกสร้างขึ้น จะมีรูปแบบการมองเห็นที่แตกต่างกัน ซึ่งรูปแบบการมองเห็นนี้เรียกว่า “โมเดล (Model)”
ดังนั้นจึงทำให้มีโมเดลหลายแบบดังนี้

   

โมเดล HSB          ตามหลักการมองเห็นของสายตามนุษย์
โมเดล RGB          ตามหลักการแสดงสีของเครื่องคอมพิวเตอร์
โมเดล CMYK       ตามหลักการแสดงสีของเครื่องพิมพ์
โมเดล Lab            ตามมาตรฐานของ CIE

โมเดล HSB ตามหลักการมองเห็นของสายตามนุษย์

    เป็นลักษณะพื้นฐานของการมองเห็นสีด้วยสายตาของมนุษย์ โมเดล HSBจะประกอบด้วยลักษณะของสี 3 ลักษณะคือ
   

1. Hue เป็นสีของวัตถุที่สะท้อนเข้ามายังตาของเรา ทำให้เราสามารถมองเห็นวัตถุเป็นสีได้ ซึ่งแต่ละสีจะแตกต่างกันตาม
ความยาวของคลื่นแสงที่มากระทบวัตถุ และสะท้อนกลับมาที่ตาของเรา Hue ถูกวัดโดยตำแหน่งการแสดงสีบนวงล้อสี
(Standard Color Wheel ) ซึ่งถูกแทนด้วยองศา คือ 0 ถึง 360 องศา แต่โดยทั่วๆ ไปแล้ว มักจะเรียกการแสดงสีนั้นๆ
เป็นชื่อของสีเลย เช่นสีแดง สีม่วง สีเหลือง

                                                      

    2. Saturation คือสัดส่วนของสีเทาที่มีอยู่ในสีนั้น โดยวัดค่าสีเทาในสีหลักเป็นเปอร์เซนต์ดังนี้คือ 0% (สีเทาผสมอยู่มาก)
จนถึง 100 % (สีเทาไม่มีเลย หรือเรียกว่า “Full Saturation” คือสีมีความอิ่มตัวเต็มที่ ) โดยค่า Saturation นี้จะบ่งบอกถึงความเข้มข้น
และความจางของสี ถ้าถูกวัดโดยตำแหน่งบนวงล้อสี ค่า Saturation จะเพิ่มขึ้นจากจุดกึ่งกลางจนถึงเส้นขอบโดยค่าที่เส้นขอบ
จะมีสีที่ชัดเจนและอิ่มตัวที่สุด
   
แสดงค่า Saturation ของสี Hue จาก 0% - 100%
   
   

3. Brightness เป็นเรื่องของความสว่าง และความมืดของสี ซึ่งถูกกำหนดค่าเป็นเปอร์เซ็นต์จาก 0% (สีดำ) ถึง 100% (สีขาว) ยิ่งมีเปอร์เซ็นต์มากจะทำให้สีนั้นสว่างมากขึ้น

   


แสดงค่า Brightness / Lightness ของสี Neutral จาก 0% - 100%

   
   

             ในเครื่องมือผสมสีของโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟฟิค ทั้งระบบ Mac. และ PC. จะมีค่า HSB/HLS ให้ปรับ หรือเลือกสีที่ต้องการ
(บางแห่งอาจใช้ คำว่า LCH Lightness / Chroma / Hue )

   
 

โมเดล RGB ตามหลักการแสดงสีของเครื่องคอมพิวเตอร์

   

          โมเดล RGB เกิดจากการรวมกันของ สเปกตรัมของแสงสีแดง (Red) ,สีเขียว (Green) และน้ำเงิน (Blue) ในสัดส่วนความเข้มข้น
ที่แตกต่างกัน โดยจุดที่แสงทั้งสามสีรวมกัน จะเป็นสีขาว นิยมเรียกการผสมสีแบบนี้ว่า “Additive” แสงสี RGB มักจะถูกใช้สำหรับ
การส่องแสงทั้งบนจอภาพ ทีวีและจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งสร้างจากสารที่ให้กำเนิดแสงสีแดง สีเขียวและสีน้ำเงิน
ทำให้สีดูสว่างกว่าความเป็นจริง

   

โมเดล CMYK ตามหลักการแสดงสีของเครื่องพิมพ์

   

           CMYK Model หลักการมองเห็นสีของเครื่องพิมพ์ CMYK Model มีแหล่งกำเนิดอยู่ที่การซึมซับ (absorb) ของหมึกพิมพ์
บนกระดาษโดยมีสีพื้นฐาน คือ สีฟ้า (Cyan), สีบานเย็น (Magenta) และสีเหลือง (Yellow) สีทั้งสามข้างต้นรวมกันเป็นสีดำ บางครั้ง
เราเรียกว่า สีที่มองเห็นใน CMYK Model ว่าเป็น Subtractive Color แต่สีทั้ง 3 สี   ก็ไม่สามารถผสมผสาน รวมกันให้ได้สีบางสี
เช่น สีน้ำตาล จึงต้องมีการเพิ่มสีดำลงไป เมื่อรวมกันทั้ง 4 สีคือ CMYK สีที่ได้จึงครอบคลุมสีที่เกิดจากการพิมพ์สีทุกสี

   

Subtractive colors (CMYK)

โมเดล Lab   ตามมาตรฐานของ CIE

   

         LAB Model เป็นค่าสีที่ถูกกำหนดขึ้นโดย CIE (Commission Internationaled Eclarirage) ให้เป็นมาตรฐาน การวัดสีทุกรูปแบบ
ครอบคลุมทุกสีใน RGB และ CMYKและใช้กับสีที่เกิดจากอุปกรณ์ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น Monitor, Printer, Scanner ฯลฯ
ส่วนประกอบของโหมดสีได้แก่

   
     

L หมายถึง ค่าความสว่าง Luminance
a หมายถึง ส่วนประกอบที่แสดงการไล่สีจากสีเขียวไปยังสีแดง
b หมายถึง ส่วนประกอบที่แสดงการไล่สีจากสีน้ำเงินไปถึงสีเหลือง

 

::เว็บไซต์นีสร้างขึ้นเพื่อการศึกษาเท่านั้น::
บทเรียนบนระบบเครือข่าย รายวิชา โปรแกรม Animation รหัส ง33242 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
จัดทำโดย : นางสาวสุภาพร ก้อนเทียน