หน้าแรก:คำแนะนำและวิธีการใช้งานบทเรียน
ขอบข่ายเนื้อหา
เรื่องที่ 1 ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม
เรื่องที่ 2 การวิเคราะห์ปัญหา

 

เรื่องที่ 3 ผังงาน
เรื่องที่ 4 ลักษณะโครงสร้างผังงาน
เรื่องที่ 5 ซูโดโค้ด
เรื่องที่ 6 ภาษาคอมพิวเตอร์
เรื่องที่ 7 โครงสร้างโปรแกรมภาษาซี
เรื่องที่ 8 การติดตั้งโปรแกรมภาษาซี
เรื่องที่ 9 ตัวแปรภาษาซี
เรื่องที่ 10  ตัวดำเนินการในภาษาซี
แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
ผู้จัดทำ
 
 
 
 
 
 
 

 


 

                  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์ปัญหา สามารถวิเคราะห์ปัญหาในรูปแบบตาราง IPO ได้

 

 

 

   2.1 การวิเคราะห์ปัญหา

 

   2.2 ตัวอย่างการวิเคราะห์ปัญหา

 

   2.3 ประโยชน์ที่ได้รับจากขั้นตอนวิเคราะห์ปัญหา

 

 

 

 

 

 


            การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ จะทำตามโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาทุกประการ ดังนั้นการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาช่วยสำหรับการแก้ปัญหา จึงต้องมีโปรแกรมสำหรับการแก้ปัญหานั้น เพื่อสั่งการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการ ผู้ที่ทำการเขียนโปรแกรมจึงต้องทราบถึงวิธีการของการแก้ปัญหาที่ต้องการแก้ไขทุกขั้นตอน จากนั้นจึงทำการเรียบเรียงลำดับขั้นตอนวิธีการทำงานตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย แล้วนำขั้นตอนวิธีที่ได้เรียบเรียงขึ้นมาเขียนเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่อไป

            การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยไม่ได้มีการเตรียมการไว้ก่อน โดยทำการเขียนโปรแกรมตามความคิดในขณะนั้น ไม่ได้มีการวางแผนหรือการจดบันทึกขั้นตอนวิธีการทำงานของโปรแกรมที่เขียนขึ้นสำหรับเป็นเอกสารอ้างอิง เป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้อง จะทำให้เสียเวลาในการเขียนโปรแกรมเพิ่มมากขึ้น

            หากต้องการปรับปรุงพัฒนาการทำงานของโปรแกรมในภายหลัง จะมีความยุ่งยาก ต้องใช้เวลาสำหรับการทำความเข้าใจกับขั้นตอนวิธีการทำงานของโปรแกรม ถ้าโปรแกรมไม่มีความซับซ้อนมากนัก เวลาที่ใช้สำหรับการศึกษาถึงวิธีขั้นตอนวิธีการในการแก้ปัญหาจะใช้เวลาไม่มาก แต่ถ้าโปรแกรมนั้นมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น การศึกษาถึงขั้นตอนวิธีการในการทำงาน จะยิ่งใช้เวลาเพิ่มมากขึ้น การเขียนเอกสารประกอบการทำงานของโปรแกรม ทำให้การปรับปรุงพัฒนาการทำงานของโปรแกรมในภายหลัง สามารถทำได้สะดวกยิ่งขึ้น






และสามารถนำมาเขียนใหม่เป็นการวิเคราะห์ปัญหา โดยใช้ตาราง IPO ได้ดังนี้