Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

   
    1. เทคนิคเกี่ยวกับการสร้างภาพเคลื่อนไหว
    2. การ Publish
    3. การ Export ไฟล์เพื่อนำไปใช้กับเอกสารอื่นๆ
 

1. เทคนิคเกี่ยวกับการสร้างภาพเคลื่อนไหว

   
 
*** เกี่ยวกับการสร้างมูฟวี่ (Movie)
 

1. การสร้างภาพเคลื่อนไหว แบบ Motion Tween จะทำให้ไฟล์เล็กกว่าแบบ Frame by Frame

 

2. หลีกเลี่ยงการนำภาพบิตแมพ มาสร้างเป็นภาพเคลื่อนไหว ควรนำมาใช้เป็นฉากหลังหรือภาพนิ่งเท่านั้น

 

3. ควรใช้ซิมโบล แทนออบเจ็คที่มีปรากฏอยู่ในมูฟวี่ (ดูได้จากหน้าต่าง Library)

 

4. หากจำเป็นต้องนำภาพบิตแมพมาใช้ ควรตัดภาพให้ขนาดเล็กเท่าที่จำเป็นและบีบอัดคุณภาพลงก่อน

 

5. หากต้องใช้เสียง ควรเลือกประเภท MP3 เนื่องจากเป็นไฟล์ที่มีขนาดเล็ก

   
 
*** เกี่ยวกับการ สร้างวัตถุ (Object)
 

1. ควรรวมวัตถุ ให้เป็นกลุ่ม (Group) ให้มากที่สุด 

 

2. ควรแยกเลเยอร์ที่มีวัตถุเคลื่อนไหว และไม่เคลื่อนไหว ออกจากกัน 

 

3. การวาดเส้นทึบธรรมดา จะทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กกว่าเส้นแบบจุด (dash) หรือ เส้นที่มีลวดลาย

 

4. การวาดเส้นด้วยดินสอ (Pencil) จะทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กกว่าการวาดเส้นด้วยแปรง (Brush)

 

5. ภาพบิตแมพที่ไม่มีความซับซ้อน ลดขนาดลงได้ด้วยการทำ break apart

 

6. ควรใช้คำสั่ง Modify > Shape > Optimize เพื่อลดจำนวนเส้นที่ประกอบกันเป็นรูปทรง

   
 
*** เกี่ยวกับการ สร้างตัวอักษรและข้อความ
  1. การใช้รูปแบบตัวอักษรที่หลากหลาย ทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่
 

2. การฝังฟอนต์ (Embedded) ไปกับมูฟวี่ ทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่ ควรใช้เท่าที่จำเป็น

   
 
*** เกี่ยวกับการใช้ สี
 

1. หากรูปภาพหรือวัตถุ ทีมีความคล้ายกัน ควรสร้างจากซิมโบล แล้วค่อยนำมาปรับขนาดหรือสี

 

2. ควรใช้ฟิลเตอร์เท่าที่จำเป็น หมายเหตุ : ควรตรวจสอบไฟล์ หรือวัตถุต่างๆ ใน Library
ที่ไม่ได้ใช้งาน และลบทิ้ง เมื่อทำแอนิเมชั่นเสร็จตามต้องการแล้ว การส่งออกไฟล์เพื่อนำเสนอ ทำได้โดย
คลิกเมนู File > Publish Settings...

 
 

               ในส่วน PUBLISH คลิกเลือก Format ที่ต้องการ (หมายเลข 1) สามารถเลือก Path สำหรับ การส่งออกได้
(หมายเลข 2) ทำการส่งออกโดยคลิก Publish (หมายเลข 3)

 

2. การ Publish

             เมื่อสร้างงานตามที่ต้องการแล้ว ขั้นตอนสุดท้าย คือการนำผลงานไปใช้ หรือการส่งออก โดยสามารถเลือกรูปแบบ
การส่งออก เป็นไฟล์ชนิดต่างๆ ตามวัตถุประสงค์การใช้งานซึ่งทำได้ ดังนี้

 
ขั้นตอนการ Publish
  1. คลิกเมนู File > Publish Settings...
2. ที่หน้าต่าง Publish Settings กำหนดรูปแบบไฟล์ (หมายเลข 1) กำหนดชื่อไฟล์ กำหนดสถานที่หรือ Path
ที่ต้องการส่งออก (หมายเลข 2)
 
 

1. การกำหนดชนิดไฟล์ที่ต้องการส่งออก ทำได้โดย คลิกเครื่องหมายถูก หน้าชนิดของไฟล์ที่ต้องการ
(กรอบหมายเลข 1)
2. หากต้องการเปลี่ยนชื่อไฟล์ สามารถเปลี่ยนได้ในช่องกรอบหมายเลข 3
3. การเลือกสถานที่ หรือ Path ในการบันทึกไฟล์ ทำได้โดยคลิกสัญลักษณ์โฟลเดอร์ ในหมายเลข 2

             ในการกำหนดคุณสมบัติการส่งออกของไฟล์แต่ละชนิด ทำได้โดยคลิกแท็บชนิดนั้นๆ เช่น การกำหนดค่าการส่งออก
ภาพ เป็นแบบเว็บเพ็จ ซึ่งจะได้ไฟล์ชนิด .html

             ในกรณีต้องการส่งออกเป็นรูปภาพ ชนิด .jpg ทำได้โดยคลิกที่แท็ป JPEG ซึ่งจะได้หน้าต่างสำหรับ การตั้งค่า
คุณสมบัติดังภาพ แล้วกำหนดค่าตามต้องการ

 
 

เมื่อกำหนดค่าต่างๆ ตามต้องการแล้ว คลิกที่ปุ่ม Publish เพื่อทำการส่งออกไฟล์ และนำไปใช้ต่อไป

 

3. การ Export ไฟล์เพื่อนำไปใช้กับเอกสารอื่นๆ

                     การส่งออกไฟล์เพื่อนำไปใช้ นอกจากจะส่งออกในแบบของการ Publish แล้วยังสามารถส่งออกแบบเดี่ยวๆ ตามแต่ชนิดของการใช้งานตามต้องการ ดังนี้
 
 - ขั้นตอนการส่ง ออกภาพเดียว
 
 

1. คลิกเมนู File > Export > Export Image...

 
 

2. เลือกสถานที่บันทึก และพิมพ์ชื่อไฟล์ที่ต้องการบันทึก เลือกชนิดของไฟล์ แล้วคลิก Save

 
   
 
 

3. กำหนดคุณสมบัติของไฟล์ โดยตั้งค่าในกรอบหมายเลข 1 เมื่อกำหนดค่าตามต้องการ
แล้วคลิก OK (หมายเลข 2) เพื่อส่งออกไฟล์

 
- ขั้นตอนการส่งออกมูฟวี่
 

 1. คลิกเมนู File > Export > Export Movie... หรือ Ctrl+Alt+Shift+S

 
 

2. เลือกสถานที่บันทึก และพิมพ์ชื่อไฟล์ที่ต้องการบันทึก เลือกชนิดของไฟล์ ซึ่งชนิดของไฟล์หากต้องการเป็นไฟล์ Flash ต้องเลือกเป็น .swf แล้วคลิก Save

 
   
 

หมายเหตุ : ในกรณีที่ต้องการไฟล์ชนิดอื่นๆ สามารถเลือกชนิดไฟล์ โดยการคลิกเลือก ชนิดของไฟล์ ซึ่งมีหลายรูปแบบ ดังภาพ

 
 
 
 

 

::เว็บไซต์นีสร้างขึ้นเพื่อการศึกษาเท่านั้น::
บทเรียนบนระบบเครือข่าย รายวิชา โปรแกรม Animation รหัส ง33242 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
จัดทำโดย : นางสาวสุภาพร ก้อนเทียน