Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 
   
 

          โปรแกรม Flash สร้างไฟล์เสียงเองไม่ได้ แต่เราต้องนำเข้าเสียงที่อัดเอง หรือหาจากแผ่นซีดี  หรือใช้โปรแกรมสำหรับตัดต่อ
เสียง ที่ต้องการ แต่การนำเสียงมาใช้ในชิ้นงานต้องพิจารณาขนาดของไฟล์ด้วย เช่น เสียงที่นำมาใช้บนชิ้นงานที่แสดงบนหน้าเว็บ
ควรมีขนาดเล็กเพื่อให้ผู้ชมไม่ต้องรอโหลดผ่านอินเตอร์เน็ตนาน

 
  การใส่เสียงประกอบ มีดังนี้  
   

1. การนำเข้าไฟล์เสียง

 
 

                  เสียงประกอบในมูฟวี่ของ Flash แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ Event Sound หมายถึง เสียงที่ต้อง
ถูกดาวน์โหลด มาครบสมบูรณ์ก่อน จึงจะเริ่มเล่นได้ และเมื่อเล่นแล้วก็จะเล่นอย่างต่อเนื่องจนกว่าเราจะสั่งให้หยุด Stream Sound หมายถึงเสียงซึ่งจะเริ่มเล่นทันที ที่ข้อมูลของเฟรมแรกๆ ถูกดาวน์โหลดเข้ามามากพอ
ที่จะเล่นได้ไฟล์เสียงที่เราสามารถอิมพอร์ตเข้ามาใช้ใน โปรแกรม Flash คือไฟล์ประเภท WAV,AIFF (.aif) และ MP3 นอกจากนี้หากเครื่องติดตั้งโปรแกรม QuickTime 4 ขึ้นไป ก็จะสามารถใช้ไฟล์เสียงประเภทอื่นๆ ได้อีกหลายชนิด คือ AIFF,AU,QuickTime,System7 และ Sound Designer II

 
 
 

1.1 การอิมพอร์ตเสียง

  ขั้นที่ 1 เลือกคำสั่ง File > Import > Import to Library...
 
 

ขั้นที่ 2 ในกรอบ Import เปิดหาไฟล์เสียงที่ต้องการ (หมายเลข 1)
ขั้นที่ 3 คลิกที่ชื่อไฟล์นั้น (หมายเลข 2)
ขั้นที่ 4 คลิก Open (หมายเลข 3)

 
 

ขั้นที่ 5 ไฟล์เสียงจะถูกนำเก็บไว้ในไลบรารีโดยมี ไอคอนเป็นรูปลำโพง

 
   
 

ระบบของเสียงที่ใช้ได้นั้นแบ่งได้เป็นแบบโมโน (Mono) และแบบสเตอริโอ (Stereo) โดยระบบโมโนเป็นเสียงที่มีช่องสัญญาณเดียว เช่นเสียงพูด ส่วนระบบสเตอริโอเป็นเสียงที่มี 2 ช่องสัญญาณ เสียงที่ออกจากลำโพง 2 ข้าง จะต่างกัน
เพื่อให้ความสมจริงกว่า เหมาะกับ งานที่มีลักษณะระดับเสียง เช่น เสียงดนตรี ไฟล์เสียงที่เป็นสเตอริโอ จะใช้พื้นที่ในการเก็บมากกว่าไฟล์เสียงแบบโมโน

 

ขั้นที่ 6 เพิ่มเลเยอร์ “เสียงรถยนต์”ที่ New Layer (หมายเลข 1) ที่ตำแหน่งเฟรมที่ 1 (หมายเลข 2) คลิกลากไฟล์เสียง
ในไลบรารี มาวางที่ Stage

 
   
 

ขั้นที่ 7 ในหน้าต่าง Properties (หมายเลข 1) และเลือกแบบ Stream (หมายเลข 2)

 
   
   
 

ขั้นที่ 8 กำหนดช่วงเวลาในการเล่น เช่น ต้องการเล่นเพลงไปถึงเฟรมที่ 80 ให้คลิกที่ 80
แล้วกด F6 เพลงจะเล่นจากเฟรมที่ 1-80

 
   
 

ขั้นที่ 9 หากต้องการใส่ effect ให้กับเสียง สามารถใส่ได้จากหน้าต่าง properties ที่ช่อง Effect ซึ่งมีให้เลือกหลายแบบ  

 
   
 

 

1.2 การลบเสียง

                     1. การลบเสียงออกจากเฟรมกรณีที่แทรกเสียงในเฟรมแล้วดังภาพ (เสียงเล่นที่เฟรมที่ 1-80) เมื่อต้องการลบเสียงออก ทำได้โดย

 

ขั้นที่ 1 คลิกที่เฟรมใดเฟรมหนึ่ง ในระหว่างเฟรมที่ 1-80

 
 

ขั้นที่ 2 ที่หน้าต่าง Properties ช่อง Sound ให้คลิกเลือกเป็น None

 

              2. การลบเสียงออกจาก Movie กรณีที่เมื่อนำไฟล์เสียงเข้ามาใน Movie แล้ว และต้องการลบออก ทำได้โดย เปิดหน้าต่าง Library แล้วคลิกไฟล์เสียงที่ต้องการลบ (หมายเลข 1) แล้วคลิกถังขยะ (หมายเลข 2)

 
   

2. การใช้งานเสียงสำเร็จรูป

 
 

          โปรแกรมFlash ได้เตรียมเสียงสำเร็จรูปส่วนหนึ่งไว้ให้เราใช้งาน ซึ่งอยู่ในพาเนล External Library โดยไฟล์เสียง
จะอยู่ในรูปแบบ MP3 สามารถเปิดใช้งานพาเนลได้จากเมนูคำสั่ง Window>Common Libraries>Sounds
เมื่อเปิดพาเนลขึ้นมา จะพบเสยงสำเร็จรูปที่โปรแกรมเตรียมไว้ให้ใช้งานมีทั้งหมด 185 เสียง เช่น
เสียงคนชมบาสเกตบอล เสียงสุนัขเห่า เสียงหัวเราะ เสียงเด็กร้อง เสียงวิ่ง เสียงเดิน เสยงไซเรน ฯลฯ
สามารถคลิกแล้วลากไปวางบนสเตจเพื่อใช้งานได้

 
 
 
   

3. การกำหนดค่าเสียง

 
 

          สามารถปรับแต่งเสียงที่ใช้ในเฟรมได้ โดยคลิกเลือกคีย์เฟรมหรือเฟรมที่วางไฟล์เสียง ใน Property Inspector  จะมีตัวเลือกต่างๆดังนี้

 
     
 
Name แสดงชื่อไฟล์เสียงที่ใช้
Effect

กำหนดแอฟเฟ็กต์ให้กับเสียง โดยมีรูปแบบต่างๆดังนี้

 
    • None ไม่ใช่แอฟเฟ็กต์ใดๆ
    • Left/Right Channel ให้เสียงออกลำโพงซ้าย หรือขวาเท่านั้น
    • Fade to Right/Left ใส่เสียงจากลำโพงซ้ายไปขวา หรือจากลำโพงขวาวิ่งไปซ้าย
    • Fade in ให้เสียงเริ่มต้นเบาๆ และค่อยๆดังขึ้น
    • Fade out ให้เสียงเริ่มต้นดัง และค่อยๆเบาลง
    • Custom ให้เรากำหนดแอฟเฟ็กต์เสียงเอง
Sync

(ย่อมาจากคำว่า Synchronize) กำหนดให้เริ่มต้นและจบการเล่นเสียงอย่างไร โดยมีตัวเลือกดังนี้

 
    • Event จะรอโหลดไฟล์เสีงมาให้ครบก่อน จึงจะเริ่มเล่นเสียงและเล่นเสียงนี้
      จนจบ โดยเป็นอิสระจากไทมไลน์ และอาจเล่นต่อแม้มูฟวี่จะแสดงภาพเคลื่อนไหวจบไปแล้วก็ตาม
    • Start จะสั่งเล่นเสียงเหมือนกับ Event ต่างกันตรงที่หากไฟล์เสียงนั้นกำลัง
      ถูกสั่งให้เล่นมาก่อน และยังเล่นไม่จบ ก็จะไม่สั่งให้เล่นเสียงซ้อนกัน
    • Stop หยุดเสียงที่กำลังเล่นอยู่
    • Stream จะเล่นไฟล์เสียงเมื่อเราโลดไปได้แล้วบาส่วน เหมาะสำหรับการเล่นเสียงบนเว็บไซต์ที่จะต้องใช้เวลาโหลดไฟล์นาน ทำให้ไม่ต้องรอจนกว่าจะโหลดไฟล์เสร็จจึงจะเล่นเสียงได้ โดยโปรแกรม Flash จะแสดงชิ้นงานให้สัมพันธ์กับเสียงที่เล่น ในกรณีที่เสียงโหลดมาเล่นไม่ทัน ภาพเคลื่อนไหวก็จะหยุดรอชั่วคราว แต่หากภาพเคลื่อนไหวแสดงไม่ทัน เสียงก็จะกระโดข้ามบางเฟรมเพื่อให้ภาพเคลื่อนไหวแสดงให้ทันเสียง นอกจากนั้นการเล่นเสียงแบบ Stream จะหยุดเล่นเสียงเมื่อมูฟวี่จบ และจะเล่นจำนวนเฟรมที่ใส่เสียงไว้
Sound Loop กำหนดให้เล่นซ้ำไปเรื่อยๆ หรือตามจำนวนรอบที่ระบุ
 
    • Repeat เล่นซ้ำตามจำนวนรอบที่ระบุไว้ด้านหลัง
    • Loop เล่นซ้ำไปเรื่อยๆ

  การเล่นเสียงแบบ Stream ต่างจากการเล่นเสียงแบบ Event ตรงที่การเล่นเสียงแบบ Stream จะพิจารณาการเคลื่อนไหวบนไทม์ไลน์ เพื่อให้การเล่นเสียงนั้นสอดคล้องกับการแสดงภาพเคลื่อนไหว ในขณะที่การเล่นเสียงแบบ Event จะไม่พิจารณาการเคลื่อนไหวบนไทมไลน์เลย
จึงเล่นไปเรื่อยๆ โดยไม่มีการหยุดรอ ตัวอย่างการใช้เสียงแบบ Event  คือกรณีที่ต้องการให้มีเสียง “คลิก” เมื่อผู้ใช้คลิกปุ่มกด ถ้าผู้ใช้คลิกปุ่มกดครั้งแรก และคลิกครั้งที่สองตามทันที ก็ให้เล่นเสียง “คลิก” สองครั้งซ้อนๆกัน แม้เสียงแรกยังเล่นไม่จบก็ตาม
ตัวอย่างการใช้เสียงแบบ Stream คือการให้ตัวการ์ตูนในชั้นงานขยับปากพูดกับเสียงพากษ์ที่นำมาประกอบ

 
   

การปรับแต่งเสียงด้วยตนเอง

 
 

          ใน Property Inspector ส่วนของ Effect ถ้าเราเลือก Custom จะเป็นการเปิดหน้าต่าง Edit Envelope สำหรับใช้ปรับแต่งเสียง และสร้างแอฟเฟกต์ให้กับเสียงได้อย่างเจาะจง โดยเราสามารถกำหนดความดังและความค่อยของเสียงในแต่ละช่วง หรือจะให้เสียงดัง สลับแต่ละด้านของลำโพงก็ได้

 
 
Play เล่นเสียง
Stop หยุดเสียง
Zoom In ใช้ขยายภาพคลื่นเสียงทำให้เข้าไปแก้ไขรายละเอียดได้ง่ายขึ้น
Zoom Out ใช้ย่อภาพคลื่นเสียง
Second

แสดงไทม์ไลน์เป็นหน่วยวินาที

Frame แสดงไทม์ไลน์เป็นหน่วยเฟรม
Time In/Time Out กำหนดจุดเริ่มต้นเล่นเสียง และจุดที่จะหยุดเล่นเสียง
 
   
 

        การใช้หน้าต่าง Edit Envelope เราสามารถเลือกเอฟเฟ็กต์ที่กล่าวไปแล้ว เช่น Left/Right Channel หรือเราจะกำหนดเองก็ได้ โดยใช้เมาส์ลากเส้น Envelope

       ในหน้าต่าง Edit Envelope จะมีอยู่ 2 ช่อง ช่องบนคือลำโพงซ้าย ช่องล่างคือลำโพงขวา เส้น Envelope จะมี 2 เส้น ในช่องลำโพงซ้ายและช่องลำโพงขวาอย่างละเส้น ถ้าระดับของเส้น Envelope อยู่สูง หมายความว่า เสียงดัง ถ้าระดับเส้น Envelope อยู่ต่ำ หมายความว่า เสียงค่อย
 
 
 
ตัวอย่าง เลือกเอฟเฟ็กต์เป็น Left Channel จะทำให้เส้น Envelope ในช่องลำโพงซ้ายจะอยู่สูง และเส้น Envelope ในช่องลำโพงขวาจะอยู่ต่ำ

         เราสามารถปรับเส้น Envelope ได้เอง
โดยเลื่อนไทม์ไลน์ไปในช่วงเวลาที่ต้องการปรับระดับเสียง แล้วใช้เมาส์ลากเส้น Envelope ขึ้น
หรือลง ถ้าขึ้นก็จะดัง ถ้าลงก็จะค่อย และจุดปรับ
จะปรากฏปุ่ม

          คลิกสร้างจุด   ได้สุงสุด 8 จุด และเมื่อต้องการลบจุด   ใด ก็ให้คลิกลากไปไว้นอกกรอบ
 
   

การบีบอัดข้อมูลเสียงเพื่อลดขนาดชิ้นงาน

 
 

          ในการสร้างมูฟวี่ (.swf) ที่จะใช้เผยแพร่ผลงาน โปรแกรม Flash จะไม่ได้นำไฟล์เสียงที่เป็นต้นฉบับไปด้วย แต่จะแปลงเสียงไปรวมเข้ากับไฟล์มูฟวี่เลย ดังนั้นหากไฟล์เสียงที่เรานำมาใช้มีขนาดใหญ่ เมื่อนำมาแปลงรวมเข้ากับไฟล์มูฟวี่ ก็จะทำให้ไฟล์มูฟวี่มีขนาดใหญ่ตามไปด้วย ซึ่งจะทำให้การโหลดผ่านอินเทอร์เน้ตเพื่อแสดงบนหน้าเว็บช้ามาก

 
 

          วิธีแก้ปัญหานี้ เราควรทำการบีบอัดข้อมูลเสียงที่ใช้ในชิ้นงานให้เล็กลง แล้วจึงนำไปรวมเข้ากับไฟล์มูฟวี่ ซึ่งการสั่งให้บีบอัดเสียงนี้จะมีผลกับไฟล์มูฟวี่ (.swf) ที่จะใช้เผยแพร่เท่านั้น ไม่ได้มีผลกับเสียงในพาเนล Library หรือกับไฟล์เสียงต้นฉบับแต่อย่างใด

 
 
       ดับเบิลคลิกไอคอนไฟล์เสียงใน พาเนล Library
(หรือคลิกขวาที่ชื่อไฟล์เลือกคำสั่ง Properties ก็ได้)
จะปรากฏหน้าต่าง Sound Properties
 
     
 

แสดงรายละเอียดของไฟล์เสียงและค่ากำหนดเกี่ยวกับการบีบอัดข้อมูลเสียง ดังนี้

  • ปุ่ม Update ใช้โหลดไฟล์เสียงเข้ามาใหม่ในกรรีที่มี
    การแก้ไขไฟล์ต้นฉบับ
  • ปุ่ม Import ใช้นำเข้าไฟล์เสียงอื่นมาแทนไฟล์เสียงนี้
  • ปุ่ม Test ใช้ทดสอบเล่นเสียงว่าฟังได้หรือไม่
    เมื่อเปลี่ยนค่าการบีบอัดเสียง
  • ปุ่ม Stop ใช้หยุดเสีงที่กำลังเล่น
  • Compression เลือกการบีบอัดเสียง
              >> Default  ให้บีบอัดไฟล์เสียงตามค่าที่กำหนดไว้แล้วในหัวข้อ Publish Setting
              >> ADPCM เป็นวิธีบีบอัดที่เหมาะสำหรับไฟล์เสียงสั้นๆ เช่น เสียงคลิกกดปุ่ม
              >> MP3 เป็นวิธีบีบอัดที่เหมาะสมสำหรับไฟล์ดนตรี และไฟล์เสียงที่มีความยาวมากๆ
              >> RAW ไม่บีบอัดไฟล์เสียง
              >> Speech เป็นวิธีบีบอัดที่เหมาะสำหรับไฟล์เสียงพูด
 
   

ข้อแนะนำเกี่ยวกับการใช้เสียง

 
 

          ข้อมูลเสียงนั้นมีขนาดใหญ่ และต้องใช้พื้นที่ในฮาร์ดดิสก์ และหน่วยความจำมาก ดังนั้นจึงควรเลือกใช้วิธีบีบอัดข้อมูลให้ได้ขนาดที่เหมาะสมที่สุด และควรพิจารณาข้อแนะนำต่อไปนี้ด้วย

    • ในกรณีที่เรามีหน่วยความจำไม่มาก ก็ควรใช้ไฟล์เสียงที่เป็นแบบ 8 บิต แทนไฟล์เสียงแบบ 16 บิต
    • การกำหนดความถี่เสียง (Sample rate) ให้สูงกว่าไฟล์ต้นฉบับไม่ได้ช่วยทำให้เสียง ดีขึ้น เช่นไฟล์เสียงพูด 5 kHz โมโนถ้าปรับเป็น 44  kHz สเตอริโอ ก็ฟังเหมือนเสียง 5 skHz อยู่ดี
    • ตัดช่วงไม่มีเสียงในไฟล์ออก โดยกำหนดจุด Time in และ Time out ในหน้าต่าง Edit Envelope จะช่วยให้ขนาดไฟล์เล็กลง
    • พยายามนำเสียงที่มีอยู่แล้วมาใช้ซ้ำ แต่ดัดแปลงให้แตกต่างโดย นำเอ็ฟเฟ็กต์ต่างๆมาใช้ เช่น การปรับความดังเสียง การเล่นวน การกำหนดจุดเริ่มและจุดจบเสียงที่แตกต่างกันไป ราก็จะสามารถใช้ไฟล์เสียงไฟล์เดียว แต่ได้เสียงที่มีความหลากหลายมาใช้
    • เสียงที่ใช้ประกอบฉากควรนำไฟล์ท่อนสั้นๆมาใช้ และเล่นวนไปเรื่อยๆ แทนการนำไฟล์ท่อนยาวๆมาใช้ตลอดฉาก
    • ไม่แนะนำให้เล่นเสียง Stream แบบวนซ้ำ เพราะการเล่นเสียงแบบนี้ จะเล่นตามจำนวนเฟรมที่มีหมายความว่า ถ้าเล่นเสียงจบ 1 รอบ ใช้ 300 เฟรม ถ้าจะเล่น 3 รอบ ก้องใช้ 900 เฟรมซึ่งชิ้นงานจะมีขนาดใหญ่ขึ้นตามจำนวนเฟรมที่เพิ่ม
 
     
     
 

 

::เว็บไซต์นีสร้างขึ้นเพื่อการศึกษาเท่านั้น::
บทเรียนบนระบบเครือข่าย รายวิชา โปรแกรม Animation รหัส ง33242 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
จัดทำโดย : นางสาวสุภาพร ก้อนเทียน