Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 

รู้จักข้อความ

 
 

              นอกจากการสร้างภาพใน Flash แล้ว เราสามารถใส่ตัวอักษรหรือข้อความบนสเตจได้ โดยใช้ Text Tool ซึ่งข้อความใน Flash
แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ข้อความแบบดังเดิม (Classic Text )และข้อความแบบเฟรม (Text Layout Framework)

 
 
 

Classic Text เป็นข้อความแบบดั้งเดิมที่มีใช้ใน Flash รุ่นก่อนๆ แบ่งย่อยได้อีก 3 รูปแบบ ดังนี้

   

* ข้อความแบบสแตติก (Static Text) เป็นข้อความธรรมดาทั่วไป
* ข้อความแบบไดนามิก (Dynamic Text) เป็นข้อความที่เปลี่ยนแปลงเนื้อหาได้จากการเขียนโค้ดโปรแกรม
* ข้อความแบบอินพุตเท็กซ์ (Input Text)เป็นฟิลด์หรือช่องรับข้อความที่ให้ผู้ใช้พิมพ์ข้อความเข้าไปได้

 
   

TLF Text (Text Layout Framework) เป็นข้อความแบบเฟรม ซึ่งแต่ละเฟรมจะสามารถเชื่อมต่อกัน เพื่อให้ข้อความแสดงจนเต็มเฟรมหนึ่ง แล้วไหลไปแสดงในเฟรมที่เชื่อมต่ออื่นได้ ข้อความประเภทนี้แบ่งย่อยได้อีก 3 รูปแบบ ดังนี้

 
     

* ข้อความแบบอ่านอย่างเดียว (Read Only) เป็นข้อความธรรมดาทั่วไป
* ข้อความแบบเลือกได้ (Selectable) เป็นข้อความเมื่อพับลิชงานสามารถใช้เมาส์เลือกข้อความได้
* ข้อความแบบแก้ไขได้ (Editable) เป็นข้อความที่เมื่อพับลิชงานสามารถพิมพ์แก้ไขข้อความได้

 
 

สร้างข้อความ

 
 

           ให้คลิก  Text Tool ในกล่องเครื่องมือ จากนั้นกำหนดประเภทและรูปแบบข้อความใน Property Inspector คลิกเมาส์บนสเตจจะปรากฏกรอบข้อความให้พิมพ์ ซึ่งกรอบข้อความจะขยายตามขนาดข้อความ และเมื่อเรากดคีย์ <Enter> จะเป็นการขึ้นบรรทัดใหม่

 
   
     
 

กำหนดขนาดกรอบข้อความ

 
 

          ในกรณีที่เราต้องการจำกัดพื้นที่ตัวอักษรให้อยู่ในกรอบพื้นที่ที่กำหนดไว้เท่านั้นและต้องจัดการกับตัวอักษรจำนวนมาก สามารถคลิกลากเมาส์กำหนดขนาดของกรอบข้อความได้ตามต้องการแล้วจึงปล่อยเมาส์

 
   
 

รูปแบบข้อความ

 
 

* Static Text

ข้อความคงที่

* Dynamic Text

ข้อความแบบเปลี่ยนเนื้อหาได้ด้วยโค้ด

* Input Text

ข้อความแบบช่องรับค่า

 
 

ลักษณะตัวอักษร (Character)

 
   
     
 

การเรนเดอร์ตัวอักษร

 
 

Use device fonts ใช้รูปแบบตัวอักษรจากเครื่องที่เปิดดู ไม่มีการเก็บรูปแบบตัวอักษรไว้ในไฟล์งาน

Bitmap text (no anti-alias) แปลงตัวอักษรเป็นภาพบิตแมพ อาจทำให้ไฟล์งานใหญ่ขึ้น หากมีการขยายมุมมองอาจทำให้ตัวหนังสือไม่คมชัดนัก

Anti-alias for animation ทำให้ตัวอักษรสามารถมองเห็นได้ชัดเจนแม้จะมีการเคลื่อนไหว เหมาะกับงานแอนิเมชั่น

Anti-alias for readability ทำให้ตัวอักษรสามารถมองเห็นได้ชัดเจน อ่านง่าย เหมาะกับงานนับเนื้อหา

Custom anti-alias ปรับค่าความหนาและความคมชัดของตัวอักษรตามต้องการ

 
     
 

จัดเรียงข้อความ (Paragraph)

 
   
 

Format

กำหนดวิธีการจัดเรียงข้อความแบบต่างๆ

 

Align left แสดงข้อความอยู่ชิดซ้าย หรือด้านที่เริ่มต้นการพิมพ์ข้อความ

 

Align center  แสดงข้อความอยู่กึ่งกลาง

 

Align right  แสดงข้อความอยู่ชิดขวา หรือด้านที่สิ้นสุดการพิมพ์ข้อความ

 

Justify ทุกบรรทัดจัดเต็ม ยกเว้นบรรทัดสุดท้ายแสดงข้อความอยู่ชิดซ้ายหรือด้านที่เริ่มต้นการพิมพ์ข้อความ

Spacing

กำหนดระยะย่อหน้า  ในบรรทัดแรก  ,  กำหนดระยะห่างระหว่างบรรทัด

Margins

กำหนดระยะห่างกั้นขอบซ้าย  และขอบขวา

Behavior

กำหนดจำนวนบรรทัดซึ่งมี 4 รูปแบบ คือ Single line (บรรทัดเดียว), Multiline (หลายบรรทัด), Multiline no wrap (หลายบรรทัด ไม่ปัดขึ้นบรรทัดใหม่อัตโนมัติ) และPassword (แสดงข้อความเป็นเครื่องหมายดอกจัน)

 
     
 

แก้ไขและย้ายตำแหน่งข้อความ

 
 

          การแก้ไขข้อความ ใช้ Text Tool คลิกข้อความที่ต้องการแก้ไข จะปรากฏกรอบข้อความให้เราแก้ไขข้อความได้โดยปกติ

 
                     อีกวิธีหนึ่งใช้ Selection Tool ดับเบิลคลิกข้อความสังเกตว่าเครื่องมือจะเปลี่ยนไปเป็น Text Toolและปรากฏกรอบข้อความให้เราแก้ไขข้อความได้เลย  
   
 

         การย้ายตำแหน่งข้อความ ใช้ Text Tool คลิกข้อความ จะปรากฏกรอบข้อความ จากนั้นให้คลิกลากขอบของกรอบข้อความนี้ย้ายตำแหน่งข้อความได้ (ให้สังเกตตัวชี้เมาส์จะเปลี่ยนเป็น )

 
 

         อีกวิธีหนึ่ง ใช้  Selection Tool คลิกลากข้อความไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้

 
     
 

แยกส่วนข้อความเป็นรูปทรง

 
 

          การปรับแต่งข้อความที่สร้างใน Flash ทำได้โดยการปรับคุณสมบัติต่างๆ ใน Property Inspector แต่หากเราต้องการเล่นกับตัวอักษรจริงๆ ต้องอาศัยเครื่องมือปรับแต่งรูปทรงต่างๆ ที่มีใน Flash และต้องแปลงตัวอักษรในข้อความเป็นรูปทรงก่อน จึงจะใช้เครื่องมือเหล่านี้ได้
          การแยกส่วนข้อความเป็นรูปทรง ทำได้โดยใช้ Selection Tool คลิกเลือกข้อความ เนื่องจากข้อความประกอบด้วยหลายตัวอักษร
จึงต้องเลือกคำสั่ง Modify>Break Apart 2 ครั้ง ดังนี้
           ครั้งที่ 1 เลือกคำสั่ง Modify>Break Apart จะแยกข้อความเป็นตัวอักษรย่อยๆสังเกตได้โดยลองคลิกที่ข้อความ จะพบว่าแต่ละตัวอักษรจะอยู่ในแต่ละกรอบข้อความแยกจากกันเป็นอิสระ

 
   
 

             ครั้งที่ 2 เลือกคำสั่ง Modify>Break Apart จะแปลงตัวอักษรให้เป็นรูปทรง ให้คลิกที่ Selection Tool และนำเมาส์มาที่ข้อความจะพบว่าจะสามารถปรับแต่งรูปทรงของตัวอักษรได้

 
   
 

หลังจากตัวอักษรได้ถูกแปลงเป็นรูปทรงแล้ว สามารถใช้เครื่องมือปรับแต่งรูปทรงได้

 
   
   

 

::เว็บไซต์นีสร้างขึ้นเพื่อการศึกษาเท่านั้น::
บทเรียนบนระบบเครือข่าย รายวิชา โปรแกรม Animation รหัส ง33242 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
จัดทำโดย : นางสาวสุภาพร ก้อนเทียน