Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 

                  การสร้างภาพเคลื่อนไหว Animation  มีขั้นตอนมากมายหลายขั้นตอน เพราะฉะนั้นในบทเรียนนี้เราจะมาแนะนำ
ขั้นตอนการสร้างภาพเคลื่อนไหว Animation  แบบพอสังเขป เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจในระดับเบื้องต้น การสร้างแอนิเมชั่น
สามารถแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ๆ ได้แก่

 

1. ขั้นตอนการเตรียมการก่อนการทำ
2. ขั้นตอนการทำ
3. ขั้นตอนหลังการทำ

 

1. ขั้นตอนการเตรียมการก่อนการทำ

 

             เป็นหัวใจสำคัญ ไม่ว่าจะทั้ง ความสนุก ,  ตื่นเต้น , อารมณ์ของตัวละครทั้งหลาย จะถูกสร้างในขั้นตอนนี้ทั้งหมด เพราะฉะนั้นตรงนี้จึงมีมากมายหลายขั้นตอน ค่อนข้างจุกจิก ในขั้นที่ 1 สามารถแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนย่อยด้วยกัน  ดังนี้

   

1. เขียนเรื่องและบท เป็นขั้นตอนแรกเริ่มอันสำคัญที่สุด แอนิเมชั่นเรื่องนั้นจะสนุกหรือไม่ ขึ้นอยู่กับเรื่องหรือ
บทเป็นสำคัญ
2. ออกแบบภาพ เป็นการกำหนดตัวละครว่า ควรมีลักษณะหน้าตาอย่างไร , ขนาดเท่าใด , ฉากควรเป็นอย่างไร
โทนสียังไง ในขั้นตอนนี้อาจทำเดี่ยว หรือทำควบคู่ไปกับบทภาพก็ได้
3. ทำบทภาพ เป็นการนำบทที่เขียนมาจำแนก โดยการร่างภาพลายเส้น พร้อมคำบรรยายแบบคร่าวๆ ซึ่งแม้แต่การถ่ายทำภาพยนตร์ก็ต้องใช้วิธีการวาดบทภาพ ก่อนถ่ายทำด้วยเช่นกัน
4. ร่างช่วงภาพ ขั้นตอนนี้ให้นำบทภาพทั้งหมดมาตัดต่อเข้าด้วยกัน พร้อมใส่เสียงพากย์ให้ตัวละครทั้งหมด

 

การผลิตงานสำหรับทำการ์ตูนแอนิเมชันโดยทั่วไปแล้วมีพื้นฐานดังต่อไปนี้

 

            ไอเดีย ( Idea ) หรือบางคนอาจใช้คำว่า แรงบันดาลใจ ( Inspiration )  ซึ่งจะเป็น สิ่งแรกที่เราสร้างสรรค์
จินตนาการและ ความคิด ของเราว่าผู้ชมของเราควรเป็นใคร อะไรที่เรา ต้องการ ให้ผู้ชมทราบ ภายหลัง จากที่ชมไปแล้ว ควรให้เรื่องที่เราสร้าง ออกมา เป็นสไตล์ไหน ซึ่งอาจจะมาจาก ประสบการณ์ ที่เราได้อ่านได้พบเห็น และสิ่งต่างๆ รอบตัว เป็นต้น

 

           โครงเรื่อง ( Story ) โครงเรื่องจะประกอบไปด้วยการเล่าเรื่องที่บอกถึงเนื้อหาเรื่องราวทุกอย่างในภาพยนตร์ทั้งตัวละคร ลำดับเหตุการณ์ ฉาก แนวคิด และที่สำคัญเราควรพิจารณาว่าการเล่าเรื่องควรจะมีการหักมุมมากน้อยเพียงไร สามารถ สร้างความ บันเทิงได้หรือไม่ และความน่าสนใจนี้สามารถทำให้ผู้ชมรู้สึกประทับใจ จนสามารถระลึกในความทรงจำ และทำให้คนพูดถึง ตราบนานเท่านานหรือเปล่า 

 

           สคริปต์ ( Script ) เป็นขั้นตอนในการจับใจความสำคัญของเนื้อเรื่องให้ออกมาในแต่ละฉาก พร้อมทั้งกำหนดมุมกล้อง เทคนิคพิเศษ รวมถึงระยะเวลาของการเคลื่อนไหว โดยให้รายละเอียดต่างๆเช่น  ผู้จัดทำ เสียงดนตรี ( Musidcians ) เสียงประกอบ
( Sound Effects ) จิตกรในการวาดหรือนักออกแบบตัวละคร ( Artists ) และแอนิเมเตอร์ (Animators) สร้างภาพให้กับตัวละคร (Characters Design) ขั้นตอนนี้เป็นการออกแบบและกำหนดลักษณะนิสัย บุคลิกบทบาทต่างๆ และท่าทางการเคลื่อนไหว ให้กับตัวละคร โดยอาศัยองค์ประกอบพื้นฐานของการออกแบบ ได้แก่ ขนาด ( Size ) รูปทรง
( Shape ) และสัดส่วน  ( Proportion )

 

            บอร์ดภาพนิ่ง หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า สตอรีบอร์ด ( Storyboards ) เป็นการใช้ภาพในการเล่าเรื่องให้ได้ครบถ้วน
ทั้งเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นอารมณ์ในเหตุการณ์นั้นๆสีหน้า ท่าทาง ลักษณะต่างๆของตัวละครบอกถึงสถานที่ และมุมมอง
ของภาพ ซึ่งภาพวาดทั้งหมด จะเรียงต่อเนื่องเป็นเหตุผลกัน เมื่อดูแล้วสามารถเข้าใจเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน

 

            บอร์ดภาพนิ่งหรือ สตอรี่บอร์ด (Story Board) สตอรี่บอร์ดคือการเตรียมการนำเสนอข้อความ ภาพ รวมทั้งสื่อในรูปแบบ มัลติมีเดียต่างๆ ลงบนกระดาษ การนำเสนอเนื้อหาและลักษณะการนำเสนอ ขั้นตอนการสร้างสตอรี่บอร์ดรวมไปถึงการเขียนสคริปต์ (สคริปต์ในที่นี้คือ เนื้อหาข้อความในบทเรียน) ที่ผู้เรียนจะได้เห็นบนหน้าจอซึ่งได้แก่ เนื้อหา ข้อมูล คำถาม ผลย้อนกลับ คำแนะนำ คำชี้แจง ข้อความเรียกความสนใจ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว (ถนอมพร เลาหจรัสแสง , 2541 : 32 ) การจัดทำสตอรี่บอร์ดที่มีลักษณะมัลติมีเดียนั้นจะต้องมีการออกแบบภาพ ข้อความ เสียง และการเคลื่อนไหวให้เข้ากับเนื้อหาบทเรียน ซึ่งจะต้องผ่านกระบวนการทำงานที่เป็นมาตรฐานในการคิด การสร้างสตอรี่บอร์ดเริ่มต้นด้วย การทำแบบร่างและการจัดวางเบื้องต้น โดยการร่างแบบคือการวาดเพื่อถ่ายทอดความคิดเบื้องต้นด้วยดินสอ หรือปากกาด้วยลายเส้นง่ายๆ หรือใช้คอมพิวเตอร์ในการร่างแบบ เพื่อให้การนำเสนอข้อความและสื่อในรูปแบบต่างๆเหล่านี้เป็นไปอย่างเหมาะสมตามลำดับขั้นตอนบนจอคอมพิวเตอร์

 
 

ตัวอย่าง Storyboard จากสร้างงานมัลติมีเดียอิเมชั่น Flash CS6   บริษัท รีไวว่า จำกัด หน้า 4

 

2. ขั้นตอนการทำ

 

เป็นขั้นตอนที่จะกำหนดว่า ภาพยนตร์แอนิเมชัน จะมีความสวยงามมากแค่ไหน ประกอบด้วย
     1. การวาดและลงสีการ์ตูนด้วยคอมพิวเตอร์
     2. การวาดและลงสีการ์ตูนแอนิเมชัน
     3. การสร้างภาพยนตร์แอนิเมชันที่เป็นเอกลักษณ์ มีการใช้สีสัน รวมทั้งแสงซึ่งให้อารมณ์แตกต่างกัน รวมทั้งมีฉากที่ช่วยเพิ่มอารมณ์ ความรู้สึกของผู้ชมมากยิ่งขึ้น

 

3. ขั้นตอนหลังการทำ

   

         1. การประกอบภาพรวม เป็นการนำทั้งตัวละครรวมทั้งฉากหลังมาผนวกให้เป็นภาพเดียวกัน ในกระบวนการนี้ มีการปรับแสง สีของภาพ ให้มีความกลมกลืน สอดคล้องไปในทางเดียวกัน ไม่ให้สีแตกต่างกัน

   

         2. ดนตรีและเสียงประกอบ  การเลือกดนตรีประกอบ ให้เข้ากับเนื้อเรื่อง รวมทั้งฉากต่างๆ รวมถึงเสียงประกอบสังเคราะห์ ในอดีตการสร้างเสียงประกอบทำได้ จากการบันทึกเสียงที่ใกล้เคียง เช่น เอาช้อนกับส้อมมาฟันกันจนเกิดเสียง ก็ใช้แทนเสียงฟันดาบ
เป็นต้น แต่ในปัจจุบันนี้ ได้มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยสังเคราะห์เสียงให้ได้เสียงที่เหมือนจริง หรือเกินกว่าความจริง เช่น เสียงคลื่นกระทบหาดทราย , เสียงพายุ  , เสียงระเบิด , เสียงมนุษย์ต่างดาว เป็นต้น ซึ่งขั้นตอนนี้วิศวกรเสียงได้เข้ามามีหน้าที่อย่างมาก การ์ตูนที่มีเนื้อเรื่องแบบเดียวกันแต่เสียงประกอบแตกต่างกัน ส่วนเสียงประกอบที่ดีกว่า เหมาะสมกว่า จะช่วยเพิ่มอารมณ์ความรู้สึก ให้กับการ์ตูนเรื่องนั้นมากขึ้น

   

         บันทึกเสียง ( Sound Recording ) หลังจากที่เราได้ออกแบบตัวละครและสร้างสตอรีบอรด์เรียบร้อยแล้ว เราก็จะเข้าสู่ขั้นตอนของการอัดเสียง ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อย่างยิ่ง บางสตูดิโออาจจะเริ่มต้นด้วยการอัดเสียง Soundtrack ก่อน ซึ่งการอัดเสียงประกอบแอนิเมชันจะแยกออกเป็นประเภทของเสียงโดยหลักแล้วจะมีดังนี้คือ

   

      - เสียงบรรยาย ( Narration ) เป็นส่วนสำคัญในการสร้างความเข้าใจ เป็นการปูพื้นฐานให้กับผู้ชมว่าเรื่องเป็นอย่างไร และยังเป็นการเชื่อมโยงให้เรื่องราวติดต่อกันด้วย
      - บทสนทนา ( Dialogue ) เป็นหลักการหนึ่งในการสื่อเรื่องราวตามบทบาทของตัวละคร เป็นการสื่อความหมายให้ตรง ตามเนื้อเรื่องที่สั้น กระชับ และสัมพันธ์กับภาพ
      - เสียงประกอบ ( Sound Effects ) เป็นเสียงที่นอกเหนือจากบรรยาย เสียงสนทนา เสียงประกอบจะทำให้เกิดรู้สึก สมจริงสมจัง มีจินตนาการเช่น เสียงระเบิด เสียงฟ้าร้อง เป็นต้น ราวกับได้เข้าไปอยู่ในเหตุการณ์หรือสถานที่นั้นด้วย
      - ดนตรีประกอบ ( Music ) ช่วยสร้างอารมณ์ของผู้ชมให้คล้อยตามเนื้อหาและปรับอารมณ์ของผู้ชมระหว่างการเชื่อมต่อของฉากหนึ่งไปยังอีกฉากหนึ่งได้ด้วย

   

       ตรวจความเรียบร้อยของแอนิเมชั่น ( Animatic Checking ) Animatic คือการนำภาพที่วาดโดยช่างศิลป์ตามแนวคิด สร้างสรรค์มาประกอบกันเข้าเป็นเรื่องราวพร้อมเสียง ประโยชน์ของการทำ Animatic คือเวลานำเสนองานแอนิเมชั่นเบื้องต้น จะไม่หยาบเกินไปสามารถสื่อแนวคิดหลักใหญ่ๆ ช่วยให้นักสร้างสรรค์สามารถทบทวนแนวความคิดก่อนที่จะผลิตเป็น ภาพยนตร์ทบทวนกรอบเวลา การดำเนินเรื่องราวเหตุผลที่สามารถอธิบายได้อย่างต่อเนื่อง สามารถปรับแต่งเพิ่มเติมภาพหรือ ตัดเข้าสู่ฉากอื่นได้ทันที เพื่อให้ได้งานที่มีอารมณ์จังหวะ และองค์ประกอบที่ใกล้เคียงก่อนการทำแอนิเมชั่น

   

       ปรับแต่งชิ้นงาน ( Refining the Animation ) หลังจากที่เราได้ทำ Animatic แล้วจะต้องนำไปปรับปรุงและ ตกแต่งแก้ไขสตอรีบอร์ด และขั้นตอนอื่นๆ โดยละเอียด เช่น ลักษณะงานศิลป์ (Character Art ) ฉากหลัง ( Background ) เสียง( Sound ) เวลา ( Timeing ) และส่วนประกอบอื่นๆจนกระทั่งเข้าสู่การผลิตงานแอนิเมชั่นต่อไป โดยการวาดเส้นด้วยคอมพิวเตอร์ การลงสีฉากและตัวละคร ภาพประกอบและเสียงต่อไป ( Composting )ซึ่งในอดีตการปรับเปลี่ยนแผนงานการทำ ภาพยนตร์การ์ตูน มีค่าใช้จ่ายสูง แต่ในปัจจุบันนี้ได้นำระบบดิจิตอลคือคอมพิวเตอร์นั่นเองเข้ามาช่วยในการสร้างงานแอนิเมชั่นทำให้ประหยัด ค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น

   

ที่มา http://www.kanlayanee.ac.th/animation/web/storyboard.htm
ขั้นตอนการสร้างhttps://www.youtube.com/watch?v=FhsPe033CPw
ที่มา : สถาบันสอนแอนิเมชั่น โดยผู้เชี่ยวชาญระดับมืออาชีพ http://www.animationafrica.org/
https://www.slideshare.net/punsupa/animation-37647232

   
 

 

::เว็บไซต์นีสร้างขึ้นเพื่อการศึกษาเท่านั้น::
บทเรียนบนระบบเครือข่าย รายวิชา โปรแกรม Animation รหัส ง33242 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
จัดทำโดย : นางสาวสุภาพร ก้อนเทียน