หน้าแรก:คำแนะนำและวิธีการใช้งานบทเรียน

ขอบข่ายเนื้อหา

เรื่องที่ 1 ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม

เรื่องที่ 2 การวิเคราะห์ปัญหา

เรื่องที่ 3 ผังงาน

เรื่องที่ 4 ลักษณะโครงสร้างผังงาน

เรื่องที่ 5 ซูโดโค้ด
เรื่องที่ 6 ภาษาคอมพิวเตอร์

 

เรื่องที่ 7 โครงสร้างโปรแกรมภาษาซี

เรื่องที่ 8 การติดตั้งโปรแกรมภาษาซี

เรื่องที่ 9 ตัวแปรภาษาซี
เรื่องที่ 10  ตัวดำเนินการในภาษาซี
แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
ผู้จัดทำ
 
 
 
 
 
 
 

 

 



คำแนะนำ

         1.  แบบทดสอบแบ่งเป็น  2  ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 แบบทดสอบเป็นแบบปรนัย  4  ตัวเลือก
              มีจำนวน  10  ข้อ  10  คะแนน
         2.  ตอนที่  2 ภาคปฏิบัติ แบบอัตนัย  1  ข้อ  10  คะแนน
         3.  ตอนที่ 1 ให้นักเรียนคลิกตัวเลือกที่เห็นว่าถูกที่สุดเพียงข้อเดียว และเมื่อทำแบบทดสอบครบ
              ทุกข้อแล้ว ให้คลิกที่ปุ่ม  "ตรวจคำตอบ"  จะทราบคะแนนทันที


ตอนที่ 1

ข้อที่ 1 :  ข้อใดคือความหมายของภาษาคอมพิวเตอร์ที่ถูกต้องที่สุด

   ก. สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นไวรัสคอมพิวเตอร์
   ข. สัญลักษณ์ที่ใช้แทนคำสั่งสื่อสารสั่งงาน ระหว่างมนุษย์กับเครื่องคอมพิวเตอร์
   ค. สัญลักษณ์ข้อความ แทนกลุ่มของตัวเลขฐานสอง
   ง. ถูกสร้างขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้มนุษย์

ข้อที่ 2 :  โปรแกรมเมอร์ (Programmer) คือใคร

   ก.  ผู้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตามที่ผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบไว้  
   ข.  ผู้คอยดูแลตรวจสภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถใช้งานได้
   ค.  ผู้วิเคราะห์ความต้องการขององค์กร ว่าควรใช้คอมพิวเตอร์เพื่องานใด ให้เกิดประโยชน์ที่สุด
   ง.  ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป

ข้อที่ 3 :  ภาษาโปรแกรมในยุคใดที่ใช้สัญลักษณ์หรือคำย่อ ในการเขียนคำสั่งในภาษาโปรแกรม

   ก. ยุคที่   1
   ข. ยุคที่   2
   ค. ยุคที่   3
   ง. ยุคที่   4

ข้อที่ 4 : ยุคแรกที่มีคอมพิวเตอร์ใช้งานนั้น โปรแกรมที่เขียนขึ้น ใช้ภาษาอะไรเขียน

   ก. ภาษาแอสแซมบลี
   ข. ภาษาโคบอล
   ค. ภาษาเครื่อง
   ง. ภาษาฟอร์แทรน
ข้อที่ 5 : ภาษาเครื่องและภาษาระดับสูง มีข้อแตกต่างกันอย่างไร

   ก. ภาษาเครื่องคือภาษาที่นักเขียนโปรแกรมเข้าใจ ส่วนภาษาระดับสูงคือภาษาที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ
   ข. ภาษาเครื่องคือภาษาที่คอมพิวเตอร์สามารถนำไปประมวลผลได้ทันที ส่วนภาษาระดับสูงคือภาษาที่คอมพิวเตอร์ไม่สามารถนำไปประมวลผลได้ทันที
   ค. ภาษาเครื่องคือภาษาที่คอมพิวเตอร์ไม่สามารถนำไปประมวลผลได้ทันที ส่วนภาษาระดับสูงคือภาษาที่คอมพิวเตอร์สามารถนำไปประมวลผลได้ทันที
   ง. ภาษาเครื่องคือภาษาที่อยู่ในรูปแบบรหัสภาษาอังกฤษที่อ่านเข้าใจง่าย ส่วนภาษาระดับสูงคือภาษาที่อยู่ในรูปแบบรหัสเลขฐานสอง ประกอบด้วยบิต 0 และบิต 1
ข้อที่ 6 :  ภาษาเครื่อง (Machine Language) จัดอยู่ในภาษาระดับใด

   ก. ภาษาเบสิก
   ข. ภาษาระดับต่ำ
   ค. ภาษาระดับสูง
   ง. ภาษาแอสแซมบลี

ข้อที่ 7 :  ภาษาโปรแกรมในข้อใดที่มีลักษณะเป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ

   ก. Pascal
   ข. COBAL
   ค. C
   ง. JAVA
ข้อที่ 8 :  ลักษณะภาษาโปรแกรมในยุคที่ 5 เป็นลักษณะแบบใด

   ก. เป็นการเขียนโปรแกรมแบบเชิงกระบวนการ
   ข. ส่วนมากใช้ในการออกแบบหน้าจอ หรือออกรายงาน
   ค. ต้องใช้งานกับระบบฐานความรู้หรือระบบผู้เชี่ยวชาญ
   ง. ยังไม่เป็นอิสระจากเครื่องคอมพิวเตอร์

ข้อที่ 9 : ตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ มีความหมายตรงกับข้อใด

   ก. โปรแกรมที่ทำการแปลภาษาคอมพิวเตอร์ที่นักเขียนโปรแกรมเขียนขึ้น ให้เป็น
            ภาษาเครื่อง
   ข. โปรแกรมที่ทำการแปลภาษาเครื่องให้เป็นภาษาคอมพิวเตอร์
   ค. โปรแกรมที่ทำการแปลภาษาที่นักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เขียนขึ้นให้เป็นภาษาอังกฤษ
   ง. โปรแกรมที่ทำการแปลภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาหนึ่ง ให้เป็นภาษาคอมพิวเตอร์อีกภาษาหนึ่ง

ข้อที่ 10 : ตัวแปลภาษาประเภทอินเทอร์พรีเตอร์และคอมไพเลอร์แตกต่างกันอย่างไร

   ก. อินเทอร์พรีเตอร์ แปลภาษาคอมพิวเตอร์ให้เป็นภาษาเครื่อง ส่วนคอมไพเลอร์
            แปลภาษาเครื่อง ให้เป็นภาษาคอมพิวเตอร์
   ข. อินเทอร์พรีเตอร์ แปลภาษาเครื่องให้เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ ส่วนคอมไพเลอร์
            แปลภาษาคอมพิวเตอร์  ให้เป็นภาษาเครื่อง
   ค. อินเทอร์พรีเตอร์ แปลภาษาคอมพิวเตอร์ทีละคำสั่ง ส่วนคอมไพเลอร์แปลภาษา
            คอมพิวเตอร์ทีละโปรแกรม
   ง. อินเทอร์พรีเตอร์ แปลภาษาคอมพิวเตอร์ทีละโปรแกรม ส่วนคอมไพเลอร์แปลภาษา
            คอมพิวเตอร์ทีละคำสั่ง


ตอนที่ 2 : ภาคปฏิบัติ  แบบทดสอบนี้เป็นแบบอัตนัย ให้นักเรียนปฏิบัติตามคำสั่งต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
                (1  ข้อ  เก็บคะแนน  10  คะแนน)

               1. จงเขียนแผนผังความคิด หรือ Mind Map สรุปภาษาคอมพิวเตอร์  ยุคของภาษาโปรแกรม ตัวอย่างภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรม และตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์