หน้าแรก:คำแนะนำและวิธีการใช้งานบทเรียน

ขอบข่ายเนื้อหา

เรื่องที่ 1 ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม

 

เรื่องที่ 2 การวิเคราะห์ปัญหา

เรื่องที่ 3 ผังงาน

เรื่องที่ 4 ลักษณะโครงสร้างผังงาน

เรื่องที่ 5 ซูโดโค้ด

เรื่องที่ 6 ภาษาคอมพิวเตอร์

เรื่องที่ 7 โครงสร้างโปรแกรมภาษาซี

เรื่องที่ 8 การติดตั้งโปรแกรมภาษาซี

เรื่องที่ 9 ตัวแปรภาษาซี
เรื่องที่ 10  ตัวดำเนินการในภาษาซี
แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
ผู้จัดทำ
 
 
 
 
 
 
 

 

 



คำแนะนำ

         1.  แบบทดสอบแบ่งเป็น  2  ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 แบบทดสอบเป็นแบบปรนัย  4  ตัวเลือก
              มีจำนวน  10  ข้อ  10  คะแนน
         2.  ตอนที่  2  ภาคปฏิบัติแบบอัตนัย  1  ข้อ  10 คะแนน
         3.  ตอนที่ 1 ให้นักเรียนคลิกตัวเลือกที่เห็นว่าถูกที่สุดเพียงข้อเดียว และเมื่อทำแบบทดสอบครบ
              ทุกข้อแล้ว ให้คลิกที่ปุ่ม  "ตรวจคำตอบ"  จะทราบคะแนนทันที


ตอนที่ 1

ข้อที่ 1 :  เมื่อต้องการพัฒนาโปรแกรมจะต้องทำสิ่งใดก่อน

   ก. วิเคราะห์ปัญหา
   ข. เขียนรหัสจำลอง
   ค. เขียนโปรแกรม
   ง. เลือกภาษาที่ต้องใช้เขียน

ข้อที่ 2 :  ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะขั้นตอนพัฒนาโปรแกรม

   ก.  การเขียนโปรแกรม ไม่ควรมีคำอธิบายสอดแทรกไว้  
   ข.  โปรแกรมเมอร์จะเขียนผังงานตามโค้ดของโปรแกรมที่เขียนไว้
   ค.  โปรแกรมเมอร์ที่เก่งสามารถเขียนโปรแกรมได้เลย
   ง.  หลังจากเขียนโปรแกรมเสร็จแล้ว โปรแกรมเมอร์จะใช้เวลา 50-70% ในการหาข้อผิดพลาด

ข้อที่ 3 :  การกำหนดข้อมูลรับเข้า (input) และแสดงผล (output) อยู่ในขั้นตอนใด

   ก. ทดสอบโปรแกรม
   ข. จัดทำคู่มือ
   ค. วางแผนและออกแบบระบบ
   ง. วิเคราะห์ปัญหา

ข้อที่ 4 : ข้อใดเรียงลำดับขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมได้ถูกต้อง

   ก. เขียนโปรแกรม > ทำเอกสาร > เขียนผังงานและซูโดโค้ด > ทดสอบและแก้ไขโปรแกรม >วิเคราะห์ปัญหา
   ข. เขียนโปรแกรม > ทดสอบและแก้ไขโปรแกรม > วิเคราะห์ปัญหา > ทำเอกสาร > เขียนผังงานและซูโดโค้ด
   ค. วิเคราะห์ปัญหา > เขียนผังงานและซูโดโค้ด > เขียนโปรแกรม > ทดสอบและแก้ไขโปรแกรม > ทำเอกสาร
   ง. วิเคราะห์ปัญหา > เขียนโปรแกรม > เขียนผังงานและซูโดโค้ด > ทดสอบและแก้ไขโปรแกรม > ทำเอกสาร
ข้อที่ 5 : ข้อใดอธิบายความหมายของการ Test โปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ถูกต้องที่สุด

   ก. เป็นขั้นตอนการทดสอบก่อนนาโปรแกรมไปใช้งานจริง
   ข. การทดสอบว่ามีข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการเขียนโปรแกรมมากน้อยเพียงใด
   ค. การทดสอบระบบว่าทางานได้ถูกต้องได้ผลตามวัตถุประสงค์หรือไม่
   ง. เป็นการทดสอบความสามารถของนักเขียนโปรแกรมว่า เขียนโปรแกรมได้ดีเพียงใด
ข้อที่ 6 :  บุคคลใดต่อไปนี้ขาดคุณสมบัติของโปรแกรมเมอร์ที่ดี

   ก. บีชอบนำแนวคิดของตนไปให้ปรึกษาพื่อนๆ อยู่เสมอ
   ข. โอเขียนโปรแกรมเก่งมาก โดยไม่ต้องออกแบบโปรแกรมเลย
   ค. กรเขียนโปรแกรมไม่เก่ง แต่ก่อนเขียนโปรแกรมจะนั่งวิเคราะห์ปัญหาก่อนเสมอ
   ง. ไม่มีข้อถูก

ข้อที่ 7 :  ข้อใดเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะที่รันโปรแกรม โดยเมื่อเกิดข้อผิดพลาด โปรแกรมจะหยุดทำงานทันที

    ก. Syntax error
   ข. Runtime error
   ค. Logical error
   ง. Compile error
ข้อที่ 8 :  ถ้าต้องการสร้างเงื่อนไขในการตัดเกรดให้นักศึกษาคือ ถ้าคะแนนรวม >= 80 ได้เกรด A แต่กลับไปเขียนโปรแกรมสร้างเงื่อนไขเป็น ถ้าคะแนนรวม > 80 ได้เกรด A ส่งผลให้นักศึกษาที่ได้คะแนน 80 ไม่ได้เกรด A นั้น จัดเป็นตัวอย่างของข้อผิดพลาดประเภทใด

   ก. Syntax error
   ข. Runtime error
   ค. Logical error
   ง. Compile error

ข้อที่ 9 : ข้อใดคือความบกพร่องของคำสั่งในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ผู้เขียนหรือผู้เขียนโปรแกรมทำคำสั่งผิดหรือขาดตกบกพร่อง ไม่ว่าด้วยสาเหตุใดก็ตามมีผลให้ระบบงานทั้งหมดหรือบางส่วนชะงัก ไม่ทำงานตามหน้าที่ที่ออกแบบไว้

   ก. Die
   ข. Debug
   ค. Bug
   ง. ถูกทุกข้อ

ข้อที่ 10 : ข้อใดไม่ใช่ลักษณะการเขียนโปรแกรมที่ดี

   ก. จัดวางย่อหน้าเป็นระเบียบ ดูแล้วเข้าใจง่าย
   ข. ควรเขียนโปรแกรมตามผังงานที่ออกแบบไว้
   ค. มีการเขียน comment แทรกตามส่วนต่างๆ ของโปรแกรม
   ง. สามารถพิมพ์คำสั่งโดยใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่หรือตัวพิมพ์เล็กก็ได้ไม่แตกต่างกัน


ตอนที่ 2 : ภาคปฏิบัติ แบบทดสอบนี้เป็นแบบอัตนัย ให้นักเรียนปฏิบัติตามคำสั่งต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
                (1 ข้อ เก็บคะแนน 10 คะแนน)


               1. จงเขียนแผนผังความคิด หรือ Mind Map สรุปแสดงขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม  คุณสมบัติของนักเขียนโปรแกรม และลักษณะของโปรแกรมที่ดี