Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 

1. ดึงดูดความสนใจ (Attention Getter / Impact)
2. การจำลองสถานการณ์ (Simulation)
3. เพิ่มความรวดเร็วในการสร้างสื่อ (Increased speed of production)
4. มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน (Interactivities)
5. ง่ายต่อการแก้ไข (Ease of revision)

 
 

1. ดึงดูดความสนใจ (Attention Getter / Impact)
    เนื่องจากคนเราเรียนรู้จากการฟังได้เพียง 10 เปอร์เซ็นต์ แต่เราเรียนรู้จากการมองเห็นถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ดวงตาของคนเราจะพยายามมองวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหว จะติดตามการเคลื่อนไหวนั้น ๆ ทำให้เราสามารถจดจำสิ่งที่เราเห็นได้อย่างยาวนาน

 
 

2. การจำลองสถานการณ์ (Simulation)
การใช้ภาพเคลื่อนไหวในการสื่อสาร จะได้ผลมากเมื่อนำมาใช้ในการจำลองสถานการณ์ เช่น
การทดลอง หรือปรากฏการณ์ธรรมชาติ โดยเฉพาะเหตุการณ์ร้ายแรงหรือสิ่งที่ไม่ควรมองด้วยภาพจริง
เช่น ด้านกายวิภาคศาสตร์ หรือสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า

 
   
 

3. เพิ่มความรวดเร็วในการสร้างสื่อ (Increased speed of production)
ภาพเคลื่อนไหวสามารถอธิบายเหตุการณ์หรือเรื่องราวต่าง ๆ ได้ดี ไม่จำเป็นต้องสร้างสื่ออธิบายเหตุการณ์หรือเรื่องราวนั้น ๆ มากมายนัก ก็สามารถเข้าใจได้ ดังนั้นไม่จำเป็นต้องสร้างสื่อมากก็สามารถอธิบายเรื่องราวได้ทำให้การสร้างสื่อทำได้รวดเร็วขึ้น

 
   
 

4. มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน (Interactivities)
- สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้
- ดึงดูดความสนใจ โดยใช้เทคนิคการนำเสนอด้วยภาพสวยงามและเหมือนจริง
- ผู้เรียนมีการโต้ตอบ มีโอกาสเลือกตัดสินใจและได้รับการเสริมแรงจากการได้รับข้อมูลย้อนกลับทันที
- ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามเนื้อหาที่สนใจ และความสามารถของตนเอง บทเรียนมีความยืดหยุ่น สามารถเรียนซ้ำได้ตามที่ต้องการ
- สร้างความพึงพอใจแก่ผู้เรียน เกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียน


 

5. ง่ายต่อการแก้ไข (Ease of revision)
การสร้างภาพเคลื่อนไหว ต้องมีการจัดทำข้อมูลต้นฉบับ ในรูปแบบต่าง ๆ และสามารถนำมาปรับปรุงหรือแก้ไขได้ แล้วสร้างเป็นภาพเคลื่อน ไหวใหม่ได้สะดวกและรวดเร็ว

   

 

::เว็บไซต์นีสร้างขึ้นเพื่อการศึกษาเท่านั้น::
บทเรียนบนระบบเครือข่าย รายวิชา โปรแกรม Animation รหัส ง33242 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
จัดทำโดย : นางสาวสุภาพร ก้อนเทียน